ประวัติสถานศึกษา

                วิทยาลัยประมงติณสูลานนท์ เป็นสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เป็นวิทยาลัยประมงแห่งแรกของประเทศไทย โดยได้รับความร่วมมือและเห็นชอบจากกรมประมง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งวิทยาลัยฯ ในวันที่ 2 มิถุนายน 2523 โดยใช้ชื่อว่า “ วิทยาลัยประมงสงขลา ” เริ่มรับนักศึกษาเข้าศึกษาครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2527 ระยะแรกได้ใช้สถานที่ของวิทยาลัยเกษตรกรรมสงขลา (ปัจจุบันเป็นวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสงขลา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา) เป็นสถานที่ในการจัดการเรียนการสอนชั่วคราว
                1 กุมภาพันธ์ 2528 กองทัพภาคที่ 4 ได้อนุญาตให้เข้าดำเนินการก่อสร้างในพื้นที่ตามโครงการจัดตั้งวิทยาลัยประมงสงขลา
                4 กุมภาพันธ์ 2528 กระทรวงศึกษาธิการให้เปลี่ยนชื่อจาก “วิทยาลัยประมงสงขลา” เป็นวิทยาลัยประมงสงขลาติณสูลานนท์
                29 มีนาคม 2528 ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (นายกรัฐมนตรีขณะนั้น) เป็นประธานในพิธีเปิดการก่อสร้างกันยายน 2529 ได้ย้ายสถานที่เรียนจากวิทยาลัยเกษตรกรรมสงขลา มาอยู่ที่ หมู่ที่ 2 ตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
                5 กุมภาพันธ์ 2541 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศเปลี่ยนชื่อจาก “ วิทยาลัยประมงสงขลาติณสูลานนท์ ” เป็น “ วิทยาลัยประมงติณสูลานนท์ ”

การจัดการศึกษา

                วิทยาลัยประมงติณสูลานนท์ จัดการศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 จนถึงปัจจุบัน ได้พัฒนาและจัดการศึกษาเจริญก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ ในปัจจุบัน วิทยาลัยประมงติณสูลานนท์ จัดการศึกษา 3 หลักสูตร คือ

  1. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาประมง สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สาขาวิชาแปรรูปสัตว์น้ำ สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (อศ.กช.) และจัดการศึกษาทวิภาคี สาขาวิชาแปรรูปสัตว์น้ำ
  2. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาประมง สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หลักสูตร Mini English Program สาขาวิชาแปรรูปสัตว์น้ำ สาขาวิชาการเดินเรือ และจัดการศึกษาทวิภาคี สาขาวิชาแปรรูปสัตว์น้ำ (วิทยาลัยในโรงงาน) จัดการเรียนการสอนร่วมกับ บริษัท แปรซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำ จำกัด (PFP)
    และบริษัท แมนเอ โฟรสเซนฟูดส์ จำกัด (ManA)
  3. หลักสูตรระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ (หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต) ประเภทวิชาประมง สาขาวิชาเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ต่อเนื่อง)